Welcome

Welcome To My Biology Webblog!!!

ใบไม้

วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เลือด


หมู่โลหิต (อังกฤษ: blood type หรือ blood group) คือ การแยกแยะเลือดเป็นหมวดหมู่ โดยทั่วไปที่ใช้มีสองระบบคือ ระบบเอบีโอ (ABO System) และ ระบบอาร์เอช (Rh System) โดยจำแนกตามแอนติเจน (Antigen) บนเม็ดเลือดแดงที่มีอยู่
ระบบ
1.             ABO System จะแบ่งออกได้เป็นสี่หมู่ คือ A , B , AB และ O (หมู่เลือด O พบมากที่สุด, A กับ B พบได้มากพอๆ กัน และ AB มีน้อยที่สุด)
2.             Rh System จะรายงานได้เป็นสองพวก
1.             +ve หรือ Rh+ve คือ พวกที่มี Rh (Rhesus) Antigen บนเม็ดเลือดแดง พวกนี้จะพบได้มาก ซึ่งเกือบทั้งหมดของคนไทยเป็นพวกนี้
2.             -ve หรือ Rh-ve คือ พวกที่ไม่มี Rh (Rhesus) Antigen บนเม็ดเลือดแดง พวกนี้จะพบได้น้อยมาก คนไทยเราพบเลือดพวกนี้เพียง 0.03% เป็นพวกที่บางครั้งอาจถูกเรียกว่าเป็นผู้มีโลหิตหมู่พิเศษ ซึ่งจะพบได้มากขึ้นในชาวไทยซิกข์ (แต่ในคนกลุ่มนี้ แม้ว่าจะมีโอกาสตรวจพบ Rh-ve ได้มากกว่าคนไทยปกติ แต่โดยส่วนใหญ่ก็ยังคงเป็นพวก Rh+ve อยู่ดี)
ตัวอย่างการรายงานกลุ่มเลือด เช่น A+ve คือเลือดกรุ๊ป A Rh+ve ตามปกติ ส่วน AB-ve เป็นเลือดกรุ๊ป AB และเป็นหมู่เลือดพิเศษ Rh-ve ซึ่งหายากที่สุด โดยปกติแล้วโลหิตหมู่ AB ในคนไทยพบน้อยกว่า 5% ซึ่งถ้าเป็น AB-ve จะพบแค่ 1.5 คน ในหมื่นคนเท่านั้น
มารดาและบุตรในครรภ์ หากกลุ่มเลือด Rh System ไม่ตรงกัน (มีโอกาสเกิดน้อยมากในคนไทย) มีโอกาสทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้ เช่น ภาวะตัวเหลืองในเด็กแรกเกิด
การให้และการรับเลือดในหมู่เลือด
1.             คนเลือดกรุ๊ป Rh-ve ต้องรับจาก Rh-ve เท่านั้น แต่ต้องดูกรุ๊ปเลือดตามระบบ ABO ด้วย (หากคนเลือดกรุ๊ป Rh-ve รับเลือดจาก Rh+ve อาการข้างเคียงจะยิ่งรุนแรงมากขึ้น ในครั้งถัดๆไป)
2.             คนเลือดกรุ๊ป O รับได้จาก O เท่านั้น แต่ให้กับกรุ๊ปอื่นได้ทุกกรุ๊ป
3.             คนเลือดกรุ๊ป AB รับได้จากทุกกรุ๊ป แต่ให้เลือดแก่ผู้อื่นได้เฉพาะคนที่เป็นเลือดกรุ๊ป AB
4.             คนเลือดกรุ๊ป A รับได้จาก A,O ให้ได้กับ A,AB

หัวใจ

               หัวใจ (อังกฤษ: Heart) ในกายวิภาคศาสตร์ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง เป็นอวัยวะสำหรับการสูบฉีดเลือดไปยังส่วนต่างๆของร่างกายโดยอาศัยโครงสร้างของกล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle) และระบบนำไฟฟ้า (conduction system) ภายในหัวใจซึ่งสร้างและควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ
               หัวใจวางตัวอยู่ในบรินกลางของช่องอก ในบริเวณที่เรียกว่า เมดิแอสไตนัมส่วนกลาง (middle mediastinum) ซึ่งเป็นบริเวณที่ถูกขนาบข้างด้วยปอด และมีหลอดเลือดแดงใหญ่และหลอดอาหารวางอยู่ใต้หัวใจ นอกจากนี้หัวใจยังถูกห่อหุ้มโดยเยื่อบางๆ เรียกว่า เยื่อหุ้มหัวใจ (pericardium) ซึ่งช่วยลดแรงเสียดทานระหว่างการเต้นของหัวใจ นอกจากนี้หัวใจยังมีระบบหลอดเลือดเฉพาะ ซึ่งเรียกว่า ระบบหลอดเลือดหัวใจ (coronary system) ซึ่งไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจโดยตรง

โครงสร้างและพื้นผิวของหัวใจ
สำหรับในร่างกายมนุษย์ หัวใจจะวางตัวอยู่ในช่องอกและเยื้องไปทางซ้ายเล็กน้อย ในผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพสมบูรณ์ หัวใจจะมีน้ำหนักประมาณ 250-350 กรัม และมีขนาดประมาณสามในสี่ของกำปั้น แต่ในกรณีของผู้ป่วยโรคหัวใจโต (cardiac hypertrophy) น้ำหนักของหัวใจอาจมากถึง 1000 กรัม หัวใจคนเรานั้นมี4ห้องคือ2ห้องบนและ2ห้องล่าง
บนพื้นผิวของหัวใจจะมีร่องหัวใจ (cardiac grooves) ซึ่งเป็นบริเวณที่มีการวางตัวของหลอดเลือดหัวใจ ร่องหัวใจที่สำคัญได้แก่
ร่องโคโรนารี (Coronary grooves) หรือร่องเอตริโอเวนตริคิวลาร์ (atrioventricular groove) เป็นร่องที่อยู่ระหว่างหัวใจห้องบน (atria) และหัวใจห้องล่าง (ventricle) ร่องนี้จะเป็นที่วางตัวของแอ่งเลือดโคโรนารี (coronary sinus) ทางพื้นผิวด้านหลังของหัวใจ
ร่องอินเตอร์เวนตริคิวลาร์ด้านหน้า (Anterior interventricular groove) เป็นร่องที่แบ่งระหว่างหัวใจห้องซ้ายและหัวใจห้องขวาทางด้านหน้า และจะมีแขนงใหญ่ของหลอดเลือดแดงโคโรนารีด้านซ้าย (left coronary artery) วางอยู่
ร่องอินเตอร์เวนตริคิวลาร์ด้านหลัง (Posterior interventricular groove) เป็นร่องที่แบ่งหัวใจระหว่างห้องซ้ายและห้องขวาทางด้านหลัง ส่วนใหญ่จะพบว่ามีแขนงของหลอดเลือดแดงโคโรนารีด้านขวา (right coronary artery) วางอยู่
ผนังหัวใจ
                 ผนังของหัวใจประกอบด้วยเนื้อเยื่อสามชั้น ได้แก่
เยื่อหุ้มหัวใจชั้นใน (Epicardium) เป็นชั้นที่ติดต่อกับเยื่อหุ้มหัวใจด้านที่ติดกับหัวใจ (Visceral layer of pericardium) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อเกี่ยวพันที่เหนียวและแข็งแรง
กล้ามเนื้อหัวใจ (Myocardium) เป็นชั้นที่มีความหนามากที่สุด และประกอบด้วยกล้ามเนื้อหัวใจเกือบทั้งหมด
                เยื่อบุหัวใจ (Endocardium) เป็นชั้นบางๆที่เจริญมาจากเซลล์เยื่อบุหลอดเลือด